เครื่องวัดแบบชี้ค่าศูนย์ ( กรณีโพเทนชิโอมิเตอร์ )
โพเทนชิโอมิเตอร์ ( Potentiometer ) กระแสตรงแบบกระแสคงที่
โพเทนชิโอมิเตอร์
เป็นเครื่องวัดที่สำคัญในการวัดค่าแรงดันกระแสตรงที่ต้องการความถูกต้องสูงมาก โดยการเปรียบเทียบค่าที่ต้องการทราบกับค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลมาตรฐานและอัตราส่วนความต้านทานที่รู้ค่า
โพเทนชิโอมิเตอร์หรือพอต
(Pot) คือตัวต้านทานที่เปลี่ยนค่าได้ในวงจรต่าง ๆ
โครงสร้างส่วนใหญ่จะใช้วัสดุประเภทคาร์บอนผสมกับเซรามิคและเรซินวางบนฉนวน
ส่วนแกนหมุนขากลางใช้โลหะที่มีการยืดหยุ่นตัวได้ดี โดยทั่วไปจะเรียกว่าโวลลุ่มหรือ
VR (Variable Resistor)
![]() |
(ก) (ข) (ค) (ง)
รูปนี้แสดงลักษณะรูปร่างและสัญลักษณ์ของโพเทนชิโอมิเตอร์และรีโอสตาท
|
จากรูปข้างต้น ( ก) จะเห็นว่าโพเทนชิโอมิเตอร์มี 3 ขา ขาที่ 1
และ 2 จะมีค่าคงที่ส่วนขาที่ 3 เปลี่ยนแปลงขึ้นลงตามที่ต้องการ ส่วนรีโอสตาทนั้นจะมี 2 ขา ตามรูป ( ข)
แต่ในกรณีที่ต้องการต่อโพเทนชิโอมิเตอร์ให้เป็นรีโอสตาทก็ทำได้โดยการต่อขาที่ 3
เข้ากับขาที่ 2 ก็จะกลายเป็นรีโอสตาทตามรูปที่
10 (ค) ส่วนรูป (ง) แสดงโครงสร้างทั่ว
ๆ ไปของโพเทนชิโอมิเตอร์
อีกชนิดหนึ่งคือจำพวกฟิล์มคาร์บอนใช้วิธีการฉาบหรือพ่นฟิล์มคาร์บอนลงในสารที่มีโครงสร้างแบบเฟโนลิค (Phenolic) ส่วนแกนหมุนจะใช้โลหะประเภทที่ใช้ทำสปริงเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น VR 100 KA หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานต่อการหมุนในลักษณะของลอกการิทึม (Logarithmic) หรือแบบล็อกคือหมุนค่าความต้านทานจะค่อย ๆ เปลี่ยนค่า พอถึงระดับกลางค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนิยมใช้เป็นโวลลุ่มเร่งความดังของเสียง ส่วนแบบ B นั้นค่าความต้านทานจะเปลี่ยนไปในลักษณะแบบลิเนีย (Linear) หรือเชิงเส้นคือค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นตามการหมุนที่เพิ่มขึ้น ส่วนมากนิยมใช้ในวงจรชุดควบคุมความทุ้มแหลมและวงจรแบ่งแรงดัน
อีกชนิดหนึ่งคือจำพวกฟิล์มคาร์บอนใช้วิธีการฉาบหรือพ่นฟิล์มคาร์บอนลงในสารที่มีโครงสร้างแบบเฟโนลิค (Phenolic) ส่วนแกนหมุนจะใช้โลหะประเภทที่ใช้ทำสปริงเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น VR 100 KA หมายความว่า การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานต่อการหมุนในลักษณะของลอกการิทึม (Logarithmic) หรือแบบล็อกคือหมุนค่าความต้านทานจะค่อย ๆ เปลี่ยนค่า พอถึงระดับกลางค่าความต้านทานจะเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนิยมใช้เป็นโวลลุ่มเร่งความดังของเสียง ส่วนแบบ B นั้นค่าความต้านทานจะเปลี่ยนไปในลักษณะแบบลิเนีย (Linear) หรือเชิงเส้นคือค่าความต้านทานเพิ่มขึ้นตามการหมุนที่เพิ่มขึ้น ส่วนมากนิยมใช้ในวงจรชุดควบคุมความทุ้มแหลมและวงจรแบ่งแรงดัน
โพเทนชิโอมิเตอร์กระแสตรง ได้เริ่มพัฒนาขึ้นเมื่อประมาณปี ค.ศ.1800 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันและได้มีการพัฒนามาตลอด จนถึงปี ค.ศ.1900 จึงยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญมากในห้องปฏิบัติการวัดละเอียด โดยใช้เป็นเครื่องวัดและสอบเทียบ มีการใช้งานอย่างกว้างขวางในงานอุตสาหกรรมในกระบวนการผลิตและควบคุมกระบวนการ โดยเริ่มจากใช้ในการวัดอุณหภูมิร่วมกับเทอร์โมคัปเปิลและขยายขอบเขตจนใช้วัดค่าตัวแปรในกระบวนการใด ๆ ที่สามารถถูกแทนในรูปของแรงดันเอาต์พุตของตัวรับรู้ ( Sensor )
1.
แบบกระแสคงที่ ( Constant Current Potentiometer )
2.
แบบความต้านทานคงที่
( Constant Resistance Potentiometer )
โพเทนซิโอมิเตอร์ (Potentiometer or Potentiometric)
โพเทนชิโอมิเตอร์จะทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงการเคลื่อนที่เชิงเส้นหรือเชิงมุมไปเป็นค่าความต้านทานกล่าวคือ หากเราจ่ายแรงเคลื่อนทางด้านอินพุต จะทำให้สัญญาณแรงเคลื่อนและกระแสที่ออกทางเอาต์พุตเปลี่ยนแปลงไปตามระยะทางเนื่องจากการเลื่อนของแขน(wiper) ที่ตัวโพเทนซิโอมิเตอร์ดังกล่าว1. ชนิดของโพเทนซิโอมิเตอร์
1.1 โพเทนซิโอมิเตอร์แบบเชิงเส้น (Linear Potentiometer) ใช้ในการวัดระยะทางที่เป็นเส้นตรง
1.2 โพเทนซิโอมิเตอร์แบบเชิงมุม (Rotary Potentiometer) ใช้สำหรับวัดระยะในลักษณะการหมุน
โพเทนซิโอมิเตอร์
1.2 โพเทนซิโอมิเตอร์แบบเชิงมุม (Rotary Potentiometer) ใช้สำหรับวัดระยะในลักษณะการหมุน
โพเทนซิโอมิเตอร์
มิเตอร์วัดระยะมุมบางตัวสามารถวัดระยะเชิงมุมได้ถึง 10° หากมันหมุนเต็มรอบจะได้ 357° แต่ในแบบหลายรอบอาจจะมีมุมในการหมุนได้ถึง3500° หรือมากกว่าความเร็วรอบสูงสุดที่โพเทนซิโอมิเตอร์แบบไวร์วาวด์หมุนได้ประมาณ 300 รอบ/นาที หากมากกว่านี้จะทำให้เกิดสัญญาณรบกวนซึ่งเป็นผลมาจากการไม่สัมผัสกันอย่างต่อเนื่องของแขน ความเร็วในการหมุนของโพเทนซิโอมิเตอร์แบบต่อเนื่องอาจหมุนได้ถึง 2,000 รอบ/นาทีโพเทนซิโอมิเตอร์แบบไวร์วาวด์ที่บางมากๆจะมีเส้นศูนย์กลางเพียง 0.01 มิลลิเมตร โดยลวดที่ใช้อาจทำมาจากแพลทินัมหรือโลหะผสมนิกเกิลที่นำมาพันอยู่บนฟอร์ม
2. ความละเอียด ( Resolution) ของโพเทนซิโอมิเตอร์ คือการเปลี่ยนแปลงความต้านทานค่าน้อยที่สุดเมื่อแขนโพเทนซิโอมิเตอร์เคลื่อนที่จากขดลวดช่วงหนึ่งไปยังอีช่วงหนึ่ง ดังนั้นความละเอียดจึงกำหนดได้จาก
Resolution = full scale displacement
/ number of turn of wire
3. การปรับสภาพสัญญาณ สัญญาณรบกวนของโพเทนซิโอมิเตอร์จะเกิดจากวัสดุที่ใช้ทำ พบว่าค่ารบกวนดังกล่าวเป็นสัดส่วนโดยตรงกับอุณหภูมิและกระแสของตัวมัน ดังนั้นเพื่อให้มีค่ารบกวนน้อยที่สุดจึงต้องรักษาแรงเคลื่อนที่จ่ายให้มีค่าต่ำสุด นอกจากนี้สัญญาณรบกวนยังอาจเกิดจากการเลื่อนของแขนได้อีกด้วย โพเทนซิโอมิเตอร์แบบต่อเนื่องจะสามารถหมุนได้เร็วกว่าและสร้างสัญญาณรบกวนน้อยกว่าแบบไวร์วาวด์ แต่ก็พบว่าโพเทนซิโอมิเตอร์แบบไวร์วาวด์ จะแสดงค่าความเหนี่ยวนำและค่าการเก็บประจุออกมาด้วยที่ความถี่ 50
Hz ค่ารีแอกแตนซ์จะมีค่าอยู่ในย่าน MW
แต่ถ้ากระตุ้นโพเทนซิโอมิเตอร์ด้วนคลื่นไซน์ขนาด 10 kHz ค่ารีแอกแตนซ์จะตกมาอยู่ที่ย่าน kW ดังนั้นหากต้องมีการกระตุ้นสัญญาณ ต้องรักษาความถี่และความต้านทานฐานให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
แต่ถ้ากระตุ้นโพเทนซิโอมิเตอร์ด้วนคลื่นไซน์ขนาด 10 kHz ค่ารีแอกแตนซ์จะตกมาอยู่ที่ย่าน kW ดังนั้นหากต้องมีการกระตุ้นสัญญาณ ต้องรักษาความถี่และความต้านทานฐานให้ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
โครงสร้างและหลักการทำงาน
หลักการทำงานของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบนี้
อาศัยการป้อนกระแสที่คงที่แก่ตัวต้านทาน ( วงจรวัด )
ที่อยู่ระหว่างจุดที่ต่อค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต้องการทราบค่า
การปรับค่าความต้านทานดังกล่าวเป็นการปรับค่าแรงดันที่ใช้เปรียบเทียบกับแรงดันที่ต้องการทราบค่า
วงจรโพเทนชิโอมิเตอร์แบบกระแสคงที่อย่างง่าย
วงจรนี้ประกอบด้วยแบตเตอรี่ E และรีโอสแตต ( Rheostat ) R ซึ่งทำหน้าที่เป็นส่วนจ่ายกระแสคงที่แก่ลวดความต้านทาน
XZ ( Slide Wire )
ซึ่งมีค่าความต้านทานที่มีค่าสม่ำเสมอตลอดความยาว กัลป์วานอมิเตอร์ G ทำหน้าที่ตรวจจับ ( Detect ) กระแส
เมื่อสวิตช์ S อยู่ที่ “Operate” และสวิตช์ K เปิดวงจร
แบตเตอรี่จะจ่ายกระแสผ่านรีโอสแตต R และเส้นลวดความต้านทาน
ค่าของกระแสจะขึ้นอยู่กับการปรับค่า R วิธีการหาค่าแรงเคลื่อนที่ไม่ทราบค่า
( Ex )
ทำได้โดยการหาตำแหน่งของลวดวามต้านทานที่ทำให้กัลวานอมิเตอร์ชี้ค่าศูนย์ ( Zero
Deflection ) เมื่อปิดสวิตช์ K
ซึ่งหมายความว่า
E = Ex ลวดความต้านทาน XZ จะมีความต้านทานสม่ำเสมอตลอดความยาว สเกลจะถูกปรับเทียบเป็นเซนติเมตร หรือส่วนของเซนติเมตรตลอดความยาวของเส้นลวด
ทำให้สามารถเลื่อนหน้าสัมผัสเลื่อนได้ ( Sliding Contact ) Y
ไปอยู่ที่
จุดใด ๆ
บนเส้นลวดได้ตามต้องการอย่างเที่ยงตรง
เนื่องจากความต้านทานของเส้นลวดถูกสร้างให้มีความเที่ยงตรงมาก
ดังนั้นแรงดันตกคร่อมตลอดเส้น ( หรือเพียงส่วนใดส่วนหนึ่ง ) ของเส้นลวด
จะขึ้นอยู่กับค่ากระแสที่จ่ายจาก E และค่ากระแสคงที่นี้จะถูกปรับมาตรฐาน ( Standardized ) โดยเทียบกับแรงดันอ้างอิงที่รู้ค่า ( เซลมาตรฐาน )
วิธีการปรับมาตรฐานของโพเทนชิโอมิเตอร์
( Standardizing Potentiometer ) ทำได้ดังนี้ คือ
สมมติให้เส้นลวดความต้านทานยาว 200 เซนติเมตร มีความต้านทาน 200 โอห์ม ( 1
เซนติเมตร = 1 โอห์ม )
แรงเคลื่อนของแรงดันอ้างอิงมาจากเซลมาตรฐาน มีค่า 1.0129 โวลต์ เมื่อสวิตช์ S
อยู่ที่ตำแหน่ง “ปรับเทียบ ( Calibrate )”
จะตั้งหน้าสัมผัสเลื่อนได้ Y ให้อยู่ที่ระยะ 101.9 เซยติเมตร
บนสเกลของเส้นลวดความต้านทาน ปรับรีโอสแตต R (
เป็นการปรับค่ากระแสที่จ่ายจาก
E ด้วย )
จนกระทั่งกัลวานอมิเตอร์ชี้ค่า 0 ( เมื่อสวิตช์ K ปิด )
ที่จุดนี้แรงดันตกคร่อม 101.9 เซนติเมตร จะเท่ากับแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลมาตรฐานคือ
1.019 โวลต์ ( 101.9 เซนติเมตร = 101.9 โอห์ม )
กระแสที่จ่ายจาก E = V/R = 1.019V/101.9 Ohm = 10
mA
หลังจากการปรับมาตรฐานแล้ว ขณะนี้แรงดันที่ตกคร่อมลวดความต้านทาน 1 เซนติเมตร = 10 mV และทำให้สามารถรู้ได้ว่า แรงดันตกคร่อมมีค่าเท่าใด เมื่อรู้ตำแหน่งของหน้าสัมผัส Y เช่น ถ้าหน้าสัมผัส Y อยู่ที่ระยะ 146.5เซนติเมตร ( Y’ ) แรงดันตกคร่อมมีค่า 1.465 โวลต์
ภายหลังจากปรับมาตรฐานตัวโพเทนชิโอมิเตอร์แล้ว
จะสามารถใช้โพเทนชิโอมิเตอร์นี้วัดแรงดันที่ไม่ทราบค่าได้ โดยตั้งสวิตช์ S ที่ “ทำงาน ( Operate )”
แล้วเคลื่อนหน้าสัมผัส ( Sliding Contact ) Y ไปตามความยาวของลวดความต้านทาน ( XZ )
จนกัลป์วานอมิเตอร์แสดงค่า 0 ( เมื่อสวิตช์ K ปิด )
โดยการอ่านระยะบนสเกล จะสามารถรู้ค่าแรงดันตกคร่อม
ซึ่งเท่ากับค่าของแรงดันหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต้องการหาค่า
โพเทนชิโอมิเตอร์ที่มีใช้งานจริง
ในทางปฏิบัติ โพเทนชิโอมิเตอร์ที่มีใช้กันอยู่จะมีไดอะแกรม
โดยจากรูปจะเห็นได้ว่า เราใช้ความต้านทาน R6 ~
R12 ควบคู่กับลวดความต้านทานที่ขดเป็นวงกลม
เพื่อช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวัด เมื่อสวิตช์มีจุดสัมผัสดังรูป
ในขณะที่กัลวานอมิเตอร์อยู่ในสภาวะสมดุล ค่าแรงดันไฟฟ้าที่วัดจะมีค่า
R6 ~
R12 ในรูป เป็นตัวต้านทานที่มีความแม่นยำสูง ส่วน R13
เป็นลวดความต้านทาน ซึ่งสามารถปรับเลื่อนจุดสัมผัส C ได้ Vx = VR11 + VR12 + VRBC
R1 และ R2 เป็นความต้านทานปรับค่าได้
ซึ่งต่อขนานกัน เพื่อควบคุมและปรับปริมาณกระแสที่ไหล R1 จะมีค่าความต้านทานน้อย และใช้ในการควบคุมค่ากระแสอย่างหยาบ ๆ ขณะที่ R2
จะมีค่าความต้านทานสูง ( เมื่อเทียบกับ R1 ) มาก และใช้ในการควบคุมค่ากระแสโดยละเอียด ในการสอบเทียบ
ก่อนใช้งานโพเทนชิโอมิเตอร์ เราจะปรับสวิตช์ให้กัลวานอมิเตอร์ต่อเข้ากับเซลล์มาตรฐานคร่อมขนานกับตัวต้านทาน
R3 โดย R3 และ
R4 เป็นความต้านทานความแม่นยำสูง
ซึ่งเราเลือกค่าความสัมพันธ์ R3 และ R4
ไว้เพื่อว่า เมื่อสามารถปรับกระแส ( I1 ) จนกระทั่ง VR3 มีค่าเท่ากับเซลล์มาตรฐานแล้ว
แสดงว่าโพเทนชิโอมิเตอร์ ได้รับการปรับเทียบถูกต้องแล้ว
หลังจากการปรับเทียบแล้ว
สวิตช์จะรับเพื่อต่อกัลวานอมิเตอร์เข้ากับแรงดันไม่ทราบค่า ( Vx ) โดยสวิตช์สัมผัส F จะได้รับการปรับเพื่อสร้างสมดุลแก่กัลวานอมิเตอร์อย่างหยาบ ๆ หลังจากนั้น
การปรับละเอียดเพื่อให้ได้การสมดุลที่แท้จริง จะอาศัยสวิตช์สัมผัส C ค่าแรงดัน Vx จะสามารถอ่านได้
จากค่าที่แสดงบนสวิตช์สัมผัส F และ C รวมกัน
R1 ถึง R15 เป็นตัวต้านทานความแม่นยำสูง
มีค่า 50 โอห์ม ส่วน R16 เป็นลวดความต้านทานความแม่นยำสูงค่า
50 โอห์ม เช่นเดียวกัน ในกรณีที่ปุ่มปรับช่วงการวัดอยู่ในตำแหน่ง ( 1.0 ) ดังรูป
ค่าแรงดันสูงสุดที่โพเทนชิโอมิเตอร์สามารถวัดได้ คือ 1.0 × ( 1.5 + 0.1 ) โวลต์
หรือคือ 1.6 โวลต์
ในกรณีที่มีการเปลี่ยนช่วงการวัดเป็น
0.1 หรือ 0.01 ค่าแรงดันสูงสุดที่โพเทนชิโอมิเตอร์สามารถวัดได้จะเป็น 0.16 โวลต์
และ 0.016 โวลต์ ตามลำดับ
ความแม่นยำในการวัดของโพเทนชิโอมิเตอร์
ตามพิกัดของผู้ผลิตจะเป็น
ช่วงการวัด ความแม่นยำ
0 ~ 1.6 โวลต์ ± 500 µV
0 ~ 0.6 โวลต์ ±
100 µV
0 ~ 0.016 โวลต์ ± 10 µV
เซลล์มาตรฐาน
ความถูกต้องแม่นยำในการวัดด้วยโพเทนชิโอมิเตอร์
ขึ้นอยู่กับความแม่นยำของความต้านทานที่ใช้
รวมทั้งความแม่นยำของแรงดันจากเซลล์มาตรฐาน
ในเครื่องมือวัดที่ใช้กันในห้องปฏิบัติการ ซึ่งต้องการความแม่นยำในระดับสูงมาก ๆ
เรามักใช้เซลล์มาตรฐาน ( Standard Cell )
เป็นแหล่งแรงดันมาตรฐาน เซลล์มาตรฐาน เช่น แบบ Weston มีความละเอียดและความแม่นยำสูงมากคือ
มีค่า 1.0186 โวลต์ที่ 20 องศาเซลเซียส และมีสัมประสิทธิ์อุณหภูมิต่ำมาก
คือ ประมาณ 40 µV ต่อ องศาเซลเซียส กับทั้งมีเสถียรภาพดีเยี่ยม คือ
ค่าจะเปลี่ยนไปประมาณ 2 ~ 3 µV ภายในเวลาถึง 10 ปี
ในบางกรณี
เราอาจใช้สิ่งประดิษฐ์คงค่าแรงดัน เช่น ซีเนอร์ไดโอด ( Zener Diode )
ที่ช่วยให้สามารถออกแบบแหล่งแรงดันมาตรฐานซึ่งปรับค่าได้
กับทั้งทำให้เกิดความสะดวกในการสร้างเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าขึ้นมาก
ซีเนอร์ไดโอด
เป็นสิ่งประดิษฐ์สารกึ่งตัวนำ
ที่มีแรงดันตกคร่อมตัวมันคงที่เมื่อไบแอสย้อนให้จนถึงแรงดันค่าหนึ่ง
แรงดันนี้เรียกว่า แรงดันเบรกดาวน์ ( Break Down
Voltage ) ดังลักษณะสมบัติที่แสดงในรูป
สำหรับตัวอย่างการนำ
Zener Diode มาใช้งานเป็นแหล่งแรงดันมาตรฐาน
ซึ่งอาจจะทำได้ดังรูป
เนื่องจากเมื่อถึงจุดเบรกดาวน์
แรงดันตกคร่อมไดโอด ( Vz )
จะคงที่และความต้านทานภายในไดโอดจะลดต่ำลงมาก ดังนั้น จึงต้องมีตัวต้านทาน R
เพื่อควบคุมค่ากระแสไม่ให้เกินค่าพิกัดของตัวไดโอด
โวลต์บอกซ์ ( Volt Box ) และ ชันต์บอกซ์ ( Shunt Box )
จากโครงสร้างของโพเทนชิโอมิเตอร์
เราจะเห็นได้ว่า การวัดโดยโพเทนชิโอมิเตอร์สามารถวัดแรงดันไฟฟ้าในช่วง 1 ~ 3 โวลต์เท่านั้น
ทั้งนี้เพราะถ้าต้องการวัดแรงดันค่าสูง ๆ จะต้องใช้ขดลวดความต้านทานที่ยาวมาก
ซึ่งไม่นิยมทำกัน
ในกรณีที่เราต้องการวัดค่าแรงดัน
( หรือกระแส ) ค่าสูงกว่าพิกัดปกติ เราจึงต้องใช้อุปกรณ์เสริม ซึ่งเรียกกันว่า
โวลต์บอกซ์ และชันต์บอกซ์
การใช้ตัวต้านทานสำหรับปรับมาตรฐาน
ตัวต้านทานแบบโพเทนชิโอมิเตอร์อีกประเภทหนึ่งคือ
ตัวต้านทานแบบปรับละเอียด (Trimmer Potentiometers) ตัวต้านทานแบบนี้ส่วนมากมักใช้ประกอบในวงจรประเภทเครื่องมือวัดและทดสอบ
เพราะสามารถปรับหมุนเพื่อต้องการเปลี่ยนค่าความต้านทานได้ทีละน้อยและสามารถหมุนได้
15 รอบหรือมากกว่า
ซึ่งเมื่อเทียบกับโพเทนชิโอมิเตอร์แบบที่ใช้ในเครื่องรับวิทยุและเครื่องเสียง
ซึ่งจะหมุนได้ไม่ถึง 1 รอบก็จะทำให้ค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
โดยการต่อตัวต้านทานแยกออกต่างหาก
( Rs )
การปรับมาตรฐานของโพเทนชิโอมิเตอร์จะสามารถกระทำได้อย่างสะดวกและปลอดภัยยิ่งขึ้น
ค่าความต้านทาน Rs ที่ต้องการ จะได้จากการคำนวณ
เมื่อกำหนดแรงเคลื่อนไฟฟ้า E แรงดันอ้างอิง Es
และค่ากระแสที่จ่ายจาก E ที่ต้องการ
ถ้าผลักสวิตช์ของกัลป์วานอมิเตอร์
( G ) มาตำแหน่ง “Calibrate”
ปรับรีโอสแตต R จนกระทั่งกระแสที่ไหลผ่านกัลป์วานอมิเตอร์เป็นศูนย์
จะเห็นได้ว่า โดยวิธีนี้ขณะปรับมาตรฐานตำแหน่งของหน้าสัมผัสเลื่อน Y จะอยู่ที่ใดก็ได้ ซึ่งต่างกับแบบที่ผ่านมา
ที่ต้องตั้งตำแหน่งของหน้าสัมผัสเลื่อน Y ให้สัมพันธ์กับค่าแรงดันอ้างอิง
และตำแหน่งของหน้าสัมผัสเลื่อน ๆ อยู่ที่ตำแหน่งที่ความต้านทานมีค่าเป็น 0 โอห์ม
เมื่อสวิตช์อยู่ในตำแหน่ง “Calibrate”
จะเป็นการลัดวงจรตัวเซลมาตรฐาน (
ซึ่งปกติจะยอมให้มีกระแสออกจากตัวเซลมาตรฐานเป็นไมโครแอมป์ ) จะเห็นได้ว่า
วิธีนี้จะเป็นการป้องกันการลัดวงจรตัวเซลมาตรฐาน นอกจากนั้น
โดยการต่อวงจรลักษณะนี้ จะทำให้สามารถตรวจสอบและปรับค่าของกระแสที่จ่ายจาก E
ได้โดยไม่กระทบกระเทือนการวัด
วงจรนี้จะเป็นพื้นฐานของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบที่ใช้ในอุตสาหกรรม
โพเทนชิโอมิเตอร์ที่ใช้ลวดความต้านทานในแบบที่ผ่านมา
จะไม่เป็นที่นิยมในทางปฏิบัติ
โดยจากรูปจะแทนเส้นลวดความต้านทานด้วยชุดตัวต้านทานค่าละเอียดเที่ยงตรงทุกตัวมีค่าเท่ากันต่ออนุกรม
( แทนค่าแรงดันเป็นขั้น ( Step ) ตรมจำนวนตัวต้านทานที่ใช้ )
และต่ออนุกรมกับลวดความต้านทานอีก 1 เส้น เพื่อปรับค่าระหว่างขั้น ( Step ) โดยแบ่งสเกลเป็นช่องเล็ก ๆ เช่น 100 ช่อง
ซึ่งสามารถประมาณให้อ่านค่าได้ถึง 1/5 ของช่องเล็ก Rs มีไว้เพื่อปรับมาตรฐาน ค่าของ Rs
จะขึ้นอยู่กับว่า ต้องการให้กระแสไหลจากแบตเตอรี่ ( Working
Current ) เท่าใด จึงจะได้แรงดันตกคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัวตามที่ต้องการ
การประยุกต์ใช้งานในการสอบเทียบ
เนื่องจากโพเทนชิโอมิเตอร์
เป็นเครื่องมือวัดแรงดันที่มีความแม่นยำสูงที่สุดประเภทหนึ่ง จึงมักใช้งานในห้องปฏิบัติการวัด
และการประยุกต์ใช้ที่สำคัญอันหนึ่งก็คือ เพื่อสอบเทียบเครื่องมือวัดต่าง ๆ
อันได้แก่ โวลต์มิเตอร์ แอมมิเตอร์ และวัตต์มิเตอร์
การสอบเทียบโวลต์มิเตอร์
การประยุกต์ใช้งานอย่างพื้นฐานที่สุดของโพเทนชิโอมิเตอร์ก็คือ
การใช้ในงานสอบเทียบโวลต์มิเตอร์กระแสตรง ดังรูป
เราจะใช้โพเทนชิโอมิเตอร์เป็นตัวอ่านค่าเพื่อเปรียบเทียบกับค่าแรงดันที่อ่านได้จากโวลต์มิเตอร์ที่ต้องการสอบเทียบ
ปุ่มปรับค่าแรงดันอย่างหยาบและโดยละเอียด
ทำหน้าที่ปรับค่าแรงดันที่ป้อนให้กับโวลต์มิเตอร์ เพื่อให้เข็มของโวลต์มิเตอร์ชี้ตรงกับตำแหน่งสเกลที่ต้องการ
พร้อมกันนั้นโพเทนชิโอมิเตอร์จะอ่านค่าแรงดันเปรียบเทียบกันด้วย
เมื่อแปรเปลี่ยนค่าแรงดันที่ต้องการวัดไป แล้วนำความแตกต่างที่ได้ไปแสดง
ก็จะได้ดังรูปกราฟ
ในกรณีซึ่งค่าแรงดันที่อ่าน
สูงกว่าค่าพิกัดสูงสุดที่โพเทนชิโอมิเตอร์อาจวัดได้ เรามาสารถใช้โวลต์บอกซ์
เพื่อแบ่งแรงดันให้อยู่ในช่วงพิกัดตามที่ต้องการได้
การสอบเทียบแอมมิเตอร์
การสอบเทียบแอมมิเตอร์สามารถทำได้โดยต่อแอมมิเตอร์อย่างอนุกรมเข้ากับตัวต้านทานความแม่นยำสูง
ดูจากรูป ค่าแรงดันตกคร่อมตัวต้านทานจะถูกวัดโดยโพเทนชิโอมิเตอร์อย่างแม่นยำ
ค่ากระแสจริงที่ไหลผ่านคัวต้านทาน ( และไหลผ่านแอมมิเตอร์ ซึ่งต่ออนุกรมอยู่ด้วย )
สามารถคำนวณ โดยหารค่าแรงดันตกคร่อมนี้ด้วยค่าความต้านทาน
เนื่องจากค่าแรงดันตกคร่อมสามารถวัดได้แม่นยำ โดยโพเทนชิโอมิเตอร์
ขณะที่ค่าความต้านทานก็มีความแม่นยำสูง กระแสที่คำนวณได้
จึงสามารถนำไปสอบเทียบความแม่นยำของแอมมิเตอร์ได้
ตัวต้านทาน
R1 และ R2 สามารถปรับเปลี่ยนค่าได้
เพื่อควบคุมกระแสที่ไหลผ่านแอมมิเตอร์ กระทั่งเข็มของแอมมิเตอร์ชี้สเกลตามต้องการ R1 จะใช้ในการปรับค่าหยาบ ๆ ขณะที่ R2 จำทำการปรับค่าโดยละเอียดกว่า
ผลการวัด
จะถูกบันทึกเป็นตาราง
โดยแบ่งเป็นกระแสที่อ่านตามสเกลของแอมมิเตอร์กับกระแสจริงที่คำนวณจากค่าที่อ่านโดยโพเทนชิโอมิเตอร์
ค่าทั้งสองสามารถจัดทำเป็นตางรางได้ ดังแสดงในตาราง
ในกรณีซึ่งค่ากระแสที่ต้องการวัด
สูงกว่าค่าพิกัดที่โพเทนชิโอมิเตอร์อาจวัดได้ เราสามารถใช้ชันต์บอกซ์
เพื่อแบ่งแรงดันให้อยู่ในช่วงพิกัดตามต้องการได้
โพเทนชิโอมิเตอร์แบบสมดุลตัวเอง ( Self-Balancing Potentiometers )
โพเทนชิโอมิเตอร์แบบปรับด้วยมือ
( Manual )
มีที่ใช้ค่อนข้างจำกัดเฉพาะในห้องปฏิบัติการวัด ซึ่งต้องการความแม่นยำสูงเท่านั้น
สาเหตุสำคัญที่ไม่ได้รับความนิยมก็เพราะผู้ใช้ต้องมีประสบการณ์
ในการปรับเพื่อให้เกิดสภาวะสมดุล การพัฒนาวิธีการวัดด้วยโพเทนชิโอมิเตอร์แบบอัตโนมัติ
หรือแบบสมดุลตัวเองจึงช่วยทำให้มีการใช้วิธีการวัด เช่นนี้อย่างกว้างขวางขึ้น นอกจากช่วยในการวัดค่าแล้ว
โพเทนชิโอมิเตอร์แบบสมดุลตัวเองยังสามารถบันทึกค่าวัดพร้อมกันไปด้วย
ดังอาจจะเห็นได้จากกหลักการทำงาน ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
หลักการทำงาน
หลักการทำงานของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบสมดุลตัวเอง
อาจจะอธิบายได้ด้วยบล็อกไดอะแกรม ความสามารถในการสมดุลตัวเองของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบอัตโนมัตินี้
เกิดตากการทำงานของเซอร์โวมอเตอร์ ( Servomotor ) และวงจรอิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ในภาพ สัญญาณแรงดันซึ่งต้องการวัดค่า ( Vi
) จะถูกป้อนให้กับขั้วเข้าขั้วหนึ่งของวงจรตรวจหาความแตกต่าง ( Error
Detector ) ขั้วเข้าอีกข้างหนึ่งของวงจรนี้ มีสัญญาณ Vs
ซึ่งได้จากแหล่งแรงดันอ้างอิงที่ปรับค่าได้ วงจรตรวจหาความแตกต่าง
จะให้สัญญาณออกเป็นสัดส่วนกับผลต่างของ Vi และ Vs
สัญญาณออกนี้เราเรียกว่า สัญญาณความแตกต่าง ( Error
Signal ) และ ส่งต่อไปเพื่อขับเคลื่อนเซอร์โวมอเตอร์
อย่างไรก็ตาม สัญญาณความแตกต่างดังกล่าว จะถูกแปลงเป็นสัญญาณกระแสสลับ
แล้วทำการขยายให้มีกำลังเพียงพอที่จะขับเคลื่อนมอเตอร์
สัญญาณที่ขับเคลื่อนมอเตอร์
จะทำให้เพลาของมอเตอร์เกิดการหมุน เพลาของมอเตอร์นี้จะต่อเข้ากับวงจรแบ่งแรงดัน
ซึ่งทำหน้าที่ปรับค่าของแหล่งแรงดันมาตรฐาน ( Vs ) เมื่อเพลาเกิดการหมุน มันก็จะไปเลื่อนจุดสัมผัสของตัวแบ่งแรงดัน
และการเคลื่อนของจุดสัมผัสนี้จะไปในทิศที่จะลดค่าความแตกต่างของ Vi
และ Vs เมื่อ │Vi –
Vs │ = 0
สัญญาณความแตกต่างจากวงจรตรวจหาความแตกต่างจะเป็นศูนย์
ยังผลให้เซอร์โวมอเตอร์หยุดอยู่กับที่ ขณะเดียวกัน
เพลาของมอเตอร์ ยังต่อเข้ากับตัวชี้ค่า ( Pointer ) เพื่อใช้ในการแสดงค่าและใช้ในการบันทึกค่าด้วย
ตัวอย่างการประยุกต์ใช้งาน
การประยุกต์ใช้งานของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบสมดุลตัวเองที่สำคัญอันหนึ่ง
ได้แก่ การใช้ในการวัดอุณหภูมิ
สัญญาณที่ต้องการวัด ( Vi ) คือ
ค่าแรงดันที่ปลายทั้งสองของเทอร์โมคัปเปิล
แรงดันส่วนนี้จะต่ออนุกรมกับแหล่งแรงดันที่ปรับค่าได้ ( Vs ) ผลต่างของแรงดันทั้งสอง ( Vi – Vs ) จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณกระแสสลับโดยผ่านวงจรชอฟเฟอร์ ( Chopper ) ซึ่งช่วยเปลี่ยนกระแสตรงเป็นกระแสสลับ
กระแสสลับส่วนนี้จะถูกป้อนเพื่อขยายด้วยวงจรขยายกระแสสลับ
สำหรับนำไปขับเคลื่อนเซอร์โวมอเตอร์ต่อไป
การทำงานของเซอร์โวมอเตอร์จะเหมือนดังเช่นโพเทนชิโอมิเตอร์แบบสมดุลตัวเอง
ซึ่งกล่าวมาข้างต้น เนื่องจาก
แรงดันจากเทอร์โมคัปเปิล
จะมีความสัมพันธ์ค่อนข้างเป็นเชิงเส้นกับอุณหภูมิของรอยต่อเทอร์โมคัปเปิล ดังนั้น
เราจึงอาจแสดงค่าที่วัดได้ออกเป็นอุณหภูมิ โดยเป็นสัดส่วนกับค่าแรงดัน
โพเทนชิโอมิเตอร์สำหรับงานห้องปฏิบัติการ
โพเทนชิโอมิเตอร์แบบนี้ จะสามารถใช้วัดการเปลี่ยนแปลงของแรงดันขนาด 1
µV หรือต่ำกว่า โดยมีความถูกต้องต่ำกว่า 0.01
เปอร์เซ็นต์ ตัวต้านทานที่ใช้ในวงจรจะต้องเท่ากัน (
ภายในความละเอียดระดับที่ต้องการ ) ตลอดช่วงเวลาที่ยาวในวงจร
จุดสัมผัสที่ไม่ต้องถูกบัดกรีจะมีเพียงที่ตัวตรวจจับ ( Detector ) และที่จุดต่อแบตเตอรี่เข้าไป
เนื่องจากเป็นบริเวณที่การแปรค่าความต้านทานของจุดสัมผัสมีผลน้อยมาก
นอกจากนั้นจะต้องให้ความระมัดระวังเกี่ยวกับค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ไม่ต้องการ เช่น
แรงเคลื่อนไฟฟ้าความร้อนที่จุดสัมผัสของโลหะต่างชนิดที่ขั้วต่อ ( Binding
Posts ) เป็นต้น
การกำหนดจำเพาะ
( Specifications )
Specifications
1.
Measuring range
0.0100 mV to 111.110 mV ( with more than four effective digits )
100 mV – Rang ; -0.01 mV to + 111.11 mV
10 mV – Range ; -0.001 mV to + 11.111 mV
1 mV – Range ; -0.0001 mv to + 1.1111 mV
2.
Measuring dials
Dial I ; 1 mV × 10
Dial II ; 0.1 mV × 10
Dial III ; 0.01 mV × 10
Dial IV ; 0.001 mV to + 0.0110 mV
(
Continuously variable, minimum division : 0.1 µV )
Range selector ; 3 ranges of “100 mV” “10 mV” and
“1 mV”
(
with interlocked decimal point indicator )
Standard cell dial ; 1.01770 V to 1.01980 V, continuously
variable ( minimum
division : 0.02 mV )
3.
Internal resistance as seen from the
side of galvanometer circuit
Approx. 18 Ω constant ( where, the resistance between Ex-terminals is 0 Ω
4.
– Source of working current
4.5
V to 4 V, 22 mA
5.
Accuracy
100 mV – Range ; +( 0.01% of measured value + 1 µV
)
10 mV – Range ; +(0.02% of measured value + 0.2 µV
)
1 mV – Range ; +(0.02% of measured value + 0.05
µV )
Where, the ambient temperature is kept within the scope of 20 ± 2.5 องศา
310 × 491 × approx. 205 mm, including the height of the rubber foot
and the dial knob.
310 × 491 × 145 mm ( case only )
Approx. 11.1 kg
แผงด้านหน้า ( Front Panel )
จากรูป
ตามหมายเลขกำกับดังนี้
1,
2, 3, 4 หน้าปัด I, II, III และ IV
-
ค่าของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต้องการทราบ จะแสดงเป็นตัวเลขในช่อง
5. ตัวเลือกพิสัย
- ตั้งเลือกพิสัยการวัดที่ต้องการ ตำแหน่งของจุดทศนิยมจะสัมพันธ์กับพิสัยวัดที่เลือก
6. หน้าปัดเซลมาตรฐาน ( Es
– Dial )
- จะต้องตั้งที่ค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลมาตรฐาน
7. ตัวปรับกระแส ( Current ADJ )
- สำหรับปรับค่ากระแสเรียงตามลำดับจากหยาบ
( Coarse ) กลาง ( Medium ) และละเอียด
(Fine)
8. สวิตช์เลือกแรงดัน ( Ex
– Es )
- ตั้งที่ Es เมื่อต้องการปรับมาตรฐานกระแส ที่ Ex เมื่อต้องการวัดค่าแรงเคลื่อนที่ต้องการทราบค่า
9. สวิตช์เลือกขั้ว Es,
Ex BA ( NOR – REV )
- สำหรับกลับขั้วของ Es, Ex และ BA
10. สวิตช์เลือกวามไวของกัลป์วานอมิเตอร์
- เป็นสวิตช์แบบปุ่มกด ความไวจะเพิ่มขึ้นจาก G2 ไปถึง Go, Gs
จะใช้เมื่อต้องการลัดวงจร ( Short Circuit ) ตัวกัลป์วานอมิเตอร์
และสามารถจะให้สวิตช์เหล่านี้ค้างอยู่ โดยการหมุนตามเข็มนาฬิกา ขณะกดสวิตช์นี้ลง
11. ขั้วต่อ “Ex”
- สำหรับต่อแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต้องการวัดค่า
12. ขั้วต่อ “BA”
- สำหรับต่อแบตเตอรี่
13. ขั้วต่อ “GA” และขั้วต่อ “GA
Guard”
- “GA” สำหรับต่อกัลป์วานอมิเตอร์และ “GUARD”
สำหรับต่อวงจรคุ้มกัน
14. ขั้วต่อ “BA GUARD”
- เป็นขั้วต่อคุ้มสำหรับแบตเตอรี่
15. ขั้วต่อ “Es”
- สำหรับต่อเซลมาตรฐาน
16. ขั้วต่อลงดิน
- ขั้วต่อนี้จะต่อกับแผงหน้า ( Panel ) และกล่อง ( Case ) อยู่ภายใน
สำหรับต่อลงดินภายนอก
การปรับมาตรฐานกระแส ( Standardization )
1.
ให้ G0 , G1, G2, Gs อยู่ที่ตำแหน่ง “OFF” พิจารณาตำแหน่งเข็มของกัลป์วานอมิเตอร์ว่าขี้ที่ศูนย์หรือไม่
2.
ต่อเซลมาตรฐาน
ปรับ Es-dial ตามค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเซลมาตรฐาน
3.
ตั้งสวิตช์เลือกแรงดัน
( Es-Ek ) ที่ “Es” ต่อแบตเตอรี่ให้ถูกขั้ว กด “G2” (
แล้วปล่อย ) เพื่อให้รู้ทิศทางของการปรับที่จำเป็น ขณะนี้ขอแนะนำให้ตั้งค่ากระแสก่อนให้มีค่าประมาณ
22 mA โดยใช้แอมมิเตอร์วัด ( ในกรณีที่ใช้แหล่งกำเนิดกระแสคงที่
ให้ปรับที่ตัวแหล่งกำเนิดให้จ่ายกระแส 22 mA ) ปรับกระแสโดย
“Coarse” และ “Medium”
เพื่อให้ได้การสมดุลอย่างหยาบ เพิ่มความไวของกัลป์วานอมิเตอร์ โดยใช้ G1,
G0 ปรับกระแสโดยใช้ “Medium” และ “Fine” จนกระทั่งกัลป์วานอมิเตอร์ชี้ค่าศูนย์ การกด G2, G1,
G0 ควรจะใช้เวลาน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้
เพื่อให้การถ่ายเทประจุจากเซลมาตรฐานมีค่าน้อยที่สุด (
กระแสที่ผ่านเซลมาตรฐานควรน้อยกว่า 1 µA)
หมายเหตุ ขณะปรับมาตรฐานกระแส
หน้าปัด I, II, III และตัวเลือกพิสัย
จะอยู่ที่ตำแหน่งใดก็ได้ อย่างไรก็ตาม dial IV ควรอยู่ภายใน
-1 ถึง +11
โพเทนชิโอมิเตอร์สำหรับอุตสาหกรรม
โพเทนชิโอมิเตอร์แบบนี้
ใช้ในงานที่ต้องการความละเอียดรองลงมา แต่ถูกออกแบบให้แข็งแรงสำหรับใช้งานในโรงงาน
ค่าที่อ่านจะถูกปรับเทียบให้อยู่ในรูปปริมาณที่ต้องการ เช่น อุณหภูมิ ความดัน
และอื่น ๆ จะแสดงวงจรหนึ่งของโพเทนชิโอมิเตอร์ที่ใช้ในอุตสาหกรรม
โดยออกแบบสำหรับงานเฉพาะอย่างเช่น ใช้วัดอุณหภูมิจาก 400 ถึง 1000 องศาเซลเซียส
โดยใช้เทอร์โมคัปเปิลชนิด Iron – constantan ในวงจรนี้
กระแสจากแบตเตอรี่จะแยกไหลเป็น 2 สาขา ( Branch )
ในการออกแบบ จะให้กระแสในแต่ละสาขาเท่ากัน
ดังนั้นความต้านทานรวมในแต่ละสาขาจะเท่ากัน
สาขาแรกประกอบด้วยตัวต้านทาน
R1, R2 ขนานกับ W และ R3 อีกสาขาหนึ่งประกอบด้วย
ตัวต้านทาน Rs และ Rn ความต้านทานรวม Rs + Rn ทำหน้าที่ปรับมาตรฐานกระแส
( ให้มีค่าตามที่ต้องการ ) ค่าความต้านทาน Rn จะขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของจุดต่ออ้างอิง
( Reference Junction ) ที่เลือก Rn อาจเป็นเส้นลวดตัวต้านทาน ( Slide Wire ) และถูกปรับเทียบเป็นมิลลิโวลต์
ซึ่งสามารถถูกตั้งโดยมือ ( Manually )
ให้มีค่าเหมาะที่จะชดเชยตลอดช่วงอุณหภูมิของจุดต่ออ้างอิง R1 จะเลือกสำหรับชดเชยอุณหภูมิปลายช่วงวัด ( กรณีนี้คือ 400 องศาเซลเซียส )
การปรับของ W ( ที่ต่อขนานกับ R2 ) จะต้องสามารถครอบคลุม Span ของการวัด ( 1000 –
400 = 600 องศาเซลเซียส ) ค่าของ R3 คือ ความต้านทานที่ใส่เข้าไป เพื่อทำให้ความต้านทานรวมในแต่บะสาขาเท่านั้น แสดงโพเทนชิโอมิเตอร์ที่ปรับสมดุลด้วยตัวเอง
ซึ่งใช้เครื่องแปลงผันแบบชอปเปอร์ ( Chopper Type
Converter ) แทนกัลวานอมิเตอร์ในเครื่องวัดแบบปรับด้วยมือ แรงดันไม่สมดุลจะถูกป้อนสู่วงจรขยายโดยผ่านเครื่องแปลงผัน
เอาต์พุตของวงจรขยายจะไปขับมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบสองเฟส ซึ่งจะขับตัวเลื่อน ( Slider
) ของโพเทนขิโอมิเตอร์ไปสู่ตำแหน่งสมดุล
ตัวแปลงผันจะอยู่ระหว่างเอาต์พุตของโพเทนชิโอมิเตอร์และอินพุตของวงจรขยาย
และทำหน้าที่แปลงแรงดันกระสตรงที่ไม่สมดุลเป็นแรงดันกระแสสลับไม่สมดุล
ซึ่งจะถูกขยายโดยวงจรขยายไฟสลับจะใช้สำหรับวัดอุณหภูมิโดยเทอร์โมคัปเปิล
ลิ้น ( Reed ) ที่สั่นของเครื่องแปลงผัน ( หมายเลข 1 )
จะถูกขับ โดยแรงดันสายความถี่
60 เฮิรตซ์ ให้ทำหน้าที่เป็นสวิตช์
ซึ่งจะกลับกระแสที่ผ่านขดวลดปฐมภูมิที่แยกกันของหม้อแปลงอินพุต
ทุกครั้งที่ลิ้นสั่น ผลก็คือ เอาต์พุตของหม้อแปลงจะมีแรงดัน 60 เฮิรตซ์ (
ซึ่งเป็นสัดส่วนอินพุตกระแสตรงของเครื่องแปลงผัน ) และถูกป้อนเข้าสู่วงจรขยาย ( 1
) เอาต์พุตจากวงจรขยาย ( 1 ) จะป้อนเข้าสู่ขดควบคุม ( Control Winding ) ของมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบสองเฟส แรงดันที่ป้อนแก่ขดกระตุ้น ( Exciting
Winding ) จะมาจากแรงดันสาย ( Line Voltage )
ที่ถูกเลื่อนเฟสไป 90 องศา ขึ้นอยู่กับขั้วของแรงดันกระแสตรงไม่สมดุล
ที่ป้อนเข้าสู่อินพุตของเครื่องแปลงผัน ทำให้ทิศทางการหมุนของมอเตอร์ถูกกำหนดโดยความสัมพันธ์เฟสระหว่างสองแรงดันที่ขดลวดทั้งสอง
ถ้าแรงดันเคลื่อนที่ต้องการวัดค่า Ex มากกว่าแรงดันปรับสมดุลที่สร้างโดยโพเทนชิโอมิเตอร์
มอเตอร์จะหมุนในทิศทางหนึ่ง ถ้า Ex น้อยกว่าแรงดันปรับสมดุล
เอาต์พุตจากวงจรขยาย ( 1 ) จะเลื่อนไป 180 องศา ทำให้มอเตอร์หมุนกลับอีกทิศหนึ่ง
แกนหมุนของมอเตอร์จะต่อทางกลอยู่กับตัวเลื่อนในลักษณะที่การหมุนของมอเตอร์จะลดการไม่สมดุลในวงจรโพเทนชิโอมิเตอร์
การหมุนจะหยุดเมื่อเข้าสู่สภาวะสมดุลหรือกระแสควบคุมเป็นศูนย์
เมื่อกระแสของโพเทนชิโอมิเตอร์ถูกรักษาให้คงที่ ( ที่สมดุล ) ตำแหน่งของตัวเลื่อน C
จะแสดงอุณหภูมิ ถ้าต่อเขื่อมทางกล มอเตอร์กับกลไกของปากกา
การเคลื่อนที่ของตัวเลื่อนจะกลายเป็น การเคลื่อนที่ของปากกาอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากเราจะต้องรักษากระแสด้านโพเทนชิโอมิเตอร์และในความต้านทานชดเชย
Rn ให้คงที่
สำหรับแหล่งกำเนิดกระแสคงที่จะทำการเรียงกระแส และทำให้เรียบเป็นกระแสกระแสตรง
ในการรักษาให้เป็นกระแสกระแสตรงที่มีค่าคงที่
เราจะคุมค่า ( Regulate )
กระแสอัตโนมัติ โดยวงจรปรับกระแสอ้างอิง ซึ่งในรูปประกอบด้วย เซลมาตรฐาน Ex
ส่วนของเครื่องแปลงผัน หม้อแปลงอินพุต วงจรขยายกระแสสลับ ( 2 )
วงจรเรียงกระแส และวงจรกรอง
เราจะใช้ความต้านทาน
R ในการตรวจสอบว่า ค่ากระแสถูกต้องหรือไม่ สมมติว่า R
ทำให้กระแสในตัวมัน ( I )เท่ากับใน Rn
ถ้ารักษากระแสใน Rn ให้มีค่าคงที่
ดังนั้นกระแสใน R จะคงที่ด้วย ค่าของ R จะถูกกำหนดในลักษณะที่ เมื่อกระแสมาตรฐานไหลผ่านตัวมัน
แรงดันตกคร่อมมันจะเท่ากับแรงดันของเซลมาตรฐาน หรือ
VR=RI = Es
เมื่อกระแส I กลายเป็น I’ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของแรงดันแหล่งกำเนิด
อินพุตของวงจรขยาย ( 2 ) จะกลายเป็น
Vin= Es- V'R = R(I-I')
ซึ่ง
Vin นี้จะถูกขยายและเรียงกระแส และ ( I-I’
) ก็จะถูกกำจัดออกไปจากวงจร กระแสของวงจรจะอยู่ภายใน I ± 0.1% เมื่อแรงดันแหล่งกำเนิดอยู่ภายใน
100 ± 10 V
โพเทนชิโอมิเตอร์กระแสตรงแบบความต้านทานคงที่
โพเทนชิโอมิเตอร์ที่ใช้หลักการนี้ ได้เสนอโดย Lindeck ในปี 1899
เพื่อวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเทอร์โมคัปเปิล และใช้ความต้านทานมาตรฐาน R แบบ 4 ขั้ว ทำจากแมงกานินร่วมกับแบตเตอรี่ E ตัวต้านทานปรับค่าได้
RB มิลลิแอมมิเตอร์
A และกัลวานอมิเตอร์ G
เมื่อต่อค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต้องการทราบค่า
( Ex ) เข้าไปทำการแปรค่ากระแสโดยการปรับ RB
จนกระทั่งกัลวานอมิเตอร์ G ชี้ค่าศูนย์
ซึ่งหมายถึง ขณะนี้แรงดันที่ตกคร่อมความต้านทานค่าคงที่ ( R )
เท่ากับแรงเคลื่อนที่ต้องการทราบค่า การเปลี่ยนพิสัยวัด ( Range ) ของเครื่องวัดแบบนี้ทำได้ง่าย โดยเพียงแต่เปลี่ยนค่า R และเพราะว่าเครื่องวัดแบบนี้ไม่ใช่ค่ากระแสอ้างอิง
ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใช้เซลมาตรฐาน ความละเอียดถูกต้องจะถูกจำกัดโดยค่าความละเอียดถูกต้องของมิลลิแอมมิเตอร์
A ( ปกติมีค่า ± 0.5 เปอร์เซ็นต์ของค่าสูงสุดสเกล )
ซึ่งใช้สำหรับอ่านค่ากระแสที่ผ่าน R โดยการเลือกค่า R
ที่เหมาะสม การแบ่งสเกลของแอมมิเตอร์ให้เป็น 1, 10, 100 µV หรือค่าอื่น ๆ ได้ตามต้องการ
แม้ว่าความถูกต้องของเครื่องวัดจะไม่สูงมาก
แต่มันจะมีข้อดีเหนือโพเทนชิโอมิเตอร์แบบกระแสคงที่มนการวัดแรงดันต่ำ
วงจรซึ่งจะต้องถูกป้องกันจากแรงเคลื่อนไฟฟ้าปรสิต ( Parasitic ) จะไม่ยุ่งยากเพราะเพียงระกอบด้วยชันต์ กัลวานอมอเตอร์
โดยไม่มีหน้าสัมผัสเลื่อน หรือองค์ประกอบที่ปรับค่าได้
ดังนั้นมันสามารถถูกแยกอยู่ในสิ่งห่อหุ้มที่กำบังความร้อน
เพื่อให้แน่ใจว่ามันอยู่ในอุณหภูมิที่เป็นหนึ่งเดียวกัน
การเปลี่ยนพิสัยวัดทำได้โดยการใช้สวิตช์เลือกเพื่อเปลี่ยนตัวต้านทานมาตรฐาน
โพเทนชิโอมิเตอร์กระแสสลับ
โดยหลักการเบื้องต้นแล้ว
โพเทนชิโอมิเตอร์กระแสสลับทำงานเหมือนกับโพเทนชิโอมิเตอร์กระแสตรง อย่างไรก็ตามจะมีความแตกต่างที่สำคัญระหว่างมันทั้งสองคือ
ในโพเทนชิโอมิเตอร์กระแสตรง เราพยายามทำให้ขนาด ( Mgnitude
)
ของแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต้องการทราบค่ากับแรงดันคร่อมลวดความต้านทานเท่ากันเพื่อให้ได้สภาวะสมดุล
แต่ในโพเทนชิโอมิเตอร์กระแสสลับ เราจะต้องทำให้ทั้งขนาดและเฟสเท่ากัน
เพื่อให้ได้สภาวะสมดุล
โพเทนชิโอมิเตอร์กระแสสลับจะมีประโยชน์มาก
1.
ในงานวัดทางวิศวกรรม
ซึ่งความถูกต้อง 0.5 ถึง 1 % ก็เพียงพอ
หรือถูกใช้ในกรณีที่วิธีโพเทนชิโอมิเตอร์อาจจะสะดวกหรือง่ายกว่าการหาค่าแรงดันโดยวิธีอื่น
2.
เมื่อต้องการการวัดอัตราส่วนของสองแรงดันอย่างถูกต้อง
แต่ไม่ต้องการรู้ค่าขนาดของตัวหนึ่งตัวใด
3.
การวัดแรงดันที่ต้องแยกเป็นส่วนประกอบแกนขวาง
( Quadrature Component )
โพเทนชิโอมิเตอร์กระแสสลับจะให้ผลที่ดีมาก เมื่อใช้ในการทดสอบทางแม่เหล็ก
และในการหาอัตราส่วนและมุมเฟสอย่างละเอียดของหม้อแปลงเครื่องมือวัด
เนื่องจากไม่มีกระแสที่สมมูลกับเซลมาตรฐาน
ดังนั้นความถูกต้องสัมบูรณ์ที่เราสามารถวัดแรงดันกระแสสลับโดยโพเทนชิโอมิเตอร์กระแสสลับ
จะไม่สามารถเทียบได้กับค่าแรงดันกระแสตรงที่ได้จากการวัดโดยโพเทนชิโอมิเตอร์กระแสตรง
ในทางปฏิบัติ
เมื่อต้องการให้อ่านแรงดันโดยตรงจากหน้าปัดของโพเทนชิโอมิเตอร์กระแสสลับ
เราจะต้องปรับมาตรฐานกระแสของโพเทนชิโอมิเตอร์
เช่นเดียวกับในกรณีของโพเทนชิโอมิเตอร์กระแสตรง
การปรับมาตรฐานกระแส ทำได้โดยใช้มิลลิแอมมิเตอร์แบบอิเล็กโตรไดนาโมมิเตอร์
ที่จะตอบสนองต่อกระแสสลับได้เช่นเดียวกับกระแสตรง
โดยการปรับเทียบกับกระแสตรงและปรับให้มีค่าเดียวกัน เมื่อใช้กับกระแสสลับ
โพเทนชิโอมิเตอร์กระแสสลับแบ่งได้เป็น
2 ชนิด ตามค่าที่แรงดันที่ต้องการทราบค่า ปรากฏที่หน้าปัด หรือ สเกลของเครื่องวัด
ได้แก่
โพเทนชิโอมิเตอร์เชิงขั้ว ( Polar )
ในโพเทนชิโอมิเตอร์แบบนี้
แรงดันที่ต้องการทราบค่าจะถูกทำให้สมดุล
โดยการปรับทั้งขนาดและเฟสของแรงกันตัวเดียว ตัอย่างของโพเทนชิโอมิเตอร์แบบนี้คือ
โพเทนชิโอมิเตอร์ของ Drysdale ( ในปี 1908 )
จะใช้กระแสทำงานประมาณ 0 mA โดยการตั้งมิลลิแอมมิเตอร์แบบอิเล็กโตรไดนามิก
โดยเริ่มจากการปรับมาตรฐานกระแส
โดยป้อนแหล่งกำเนิดกระแสตรงให้แก่โพเทนชิโอมิเตอร์ต่อเซลมาตรฐานคร่อมลวดเลื่อน
ปรับกระแสโพเทนชิโอมิเตอร์ให้ได้ค่ากระแสโพเทนชิโอมิเตอร์ตามต้องการ
ต่อไปให้แรงดันที่ป้อนแก่โพเทนชิโอมิเตอร์มาจากตัวเลื่อนเฟส
ซึ่งจะให้แรงดันกระแสสลับที่ขนาดคงที่ แต่สามารถปรับเฟสได้ตามต้องการ
จากนั้นนำแรงดันที่ต้องการทราบค่ามาต่อแทนเซลมาตรฐาน เราสามารถปรับขนาด โดยปรับตัวเลื่อนของลวดความต้านทาน
ร่วมกับมุมเฟสของตัวเลื่อนเฟส เพื่อให้ได้ขนาดและเฟสของแรงดันที่เราต้องการทราบค่า
โพเทนชิโอมิเตอร์เชิงพิกัด ( Coordinate )
ในโพเทนชิโอมิเตอร์แบบนี้
จะเป็นการเปรียบเทียบพิกัดของแรงดันที่ต้องการทราบค่า ในพจน์ของส่วนประกอบที่ Inphase ( X )
และส่วนประกอบแกนขวาง ( y ) ค่าทั้งสองนี้
จะอ่านขากสเกลทั้งสองของโพเทนชิโอมิเตอร์ ตัวอย่างของโพเทนชิโอมิเตอร์ชนิดนี้ได้แก่
โพเทนชิโอมิเตอร์ของ Gall หลักการจะอาศัยกระแสสองค่า
I1 กับ I2
โดยที่ความต่างเฟสร่วม 90 องศา กระแสทั้งสองค่าจะได้จากแหล่งจ่ายเฟสเดียวผ่านหม้อแปลงแยกขดลวด
I2 จะมีเฟสห่างจาก I1 90 องศา โดยวงจรแยกเฟส
ก่อนใช้วัด
จะต้องปรับมาตรฐานกระแส I1 โดยวิธีเดียวกับที่อธิบายในโพเทนชิโอมิเตอร์ของ
Drysdale ต่อไปทำการปรับมาตรฐานกระแส I2
โดยอาศัยแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เหนี่ยวนำร่วมในขดทุติยภูมิของตัวเหนี่ยวนำร่วม
ค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าจะนำไปปรับเทียบกับส่วนประกอบแกนขวาง ( ที่วัดคร่อมลวดเลื่อน )
การสมดุลจะเกิดเมื่อ I2
มีขนาดที่ถูกต้องและต่างเฟสกัน 90 องศา พอดี
ซึ่งทำได้โดยการปรับตัวเลื่อนเฟสและ R2
จากนั้นทำการป้อนแรงดันที่ต้องการทราบค่าลวดเลื่อนชุดที่
1 จะวัดส่วนประกอบของ Ex ซึ่ง Inphase
กับ I2 ลวดเลื่อนชุดที่ 2
จะวัดส่วนประกอบของ Ex ซึ่ง Inphase กับ I1 เพราะว่า
I1 กับ I2 ห่างกัน
90 องศา ดังนั้นค่าที่วัดจากลวดเลื่อนจะเป็นส่วนประกอบของ
Ex ที่ห่างกัน 90 องศา ด้วย
สวิตช์กลับทางจะใช้สำหรับวัดทั้งส่วนประกอบ
Inphase และตามขวางที่เป็นแรงดันบวกและลบที่ไม่ทราบค่า
![]() |
รูปนี้ แสดงลักษณะของตัวต้านทานแบบโพเทนชิโอมิเตอร์แบบปรับละเอียด |
รูปแสดงลักษณะโครงสร้างของโพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer)
แหล่งอ้างอิง
http://automationreview.blogspot.com/2013/10/potentiometer-motor-inverter.html
https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&ved=0CCoQFjAA&url=http%3A%2F%2Fstudent.nu.ac.th%2Felectronic%2F00001.doc&ei=vYR_Ur7dF8L-rAervoDADQ&usg=AFQjCNHA0hFMUXP8FAZHUAAs22waxjk-oA
https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&ved=0CCoQFjAA&url=http%3A%2F%2Fstudent.nu.ac.th%2Felectronic%2F00004.doc&ei=VEh6UsnPGKbiigLei4HIBA&usg=AFQjCNEwRDWU5MmVyXcdIgU0nmxW0nCxrg
http://www.ee.eng.cmu.ac.th/OnlineCourses/252283/Lab2-TheoryIV.html
https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&ved=0CCoQFjAA&url=http%3A%2F%2Fstudent.nu.ac.th%2Felectronic%2F00001.doc&ei=vYR_Ur7dF8L-rAervoDADQ&usg=AFQjCNHA0hFMUXP8FAZHUAAs22waxjk-oA
https://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=1&cad=rja&ved=0CCoQFjAA&url=http%3A%2F%2Fstudent.nu.ac.th%2Felectronic%2F00004.doc&ei=VEh6UsnPGKbiigLei4HIBA&usg=AFQjCNEwRDWU5MmVyXcdIgU0nmxW0nCxrg
http://www.ee.eng.cmu.ac.th/OnlineCourses/252283/Lab2-TheoryIV.html
หนังสือ ทฤษฏีเครื่องวัดไฟฟ้า การวัดขนาดทางไฟฟ้า ผู้เขียน วิบูล เขมรังสฤษฎ์
หนังสือ การวัดและเครื่องวัดไฟฟ้า ผู้เขียน รศ.ดร.เอก ไชยสวัสดิ์
หนังสือ เครื่องวัดและการวัดทางไฟฟ้า ผู้เขียน อาภรณ์ เก่งพล และ ดร.โอซามุ นิชิโนะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น